บริการให้คำปรึกษาการต่ออายุวีซ่าอื่นๆ (Non-O Visa Extension)

ราคาเริ่มต้นที่

฿ 13,500 ปกติ 15500

ตรวจสอบเอกสารแม่นยำ ประหยัดเวลา สะดวกสบาย ไร้กังวล

เมื่อท่านเลือกใช้บริการต่ออายุวีซ่าอื่นๆ (Non-O Visa Extension)

ฟรี! บริการรายงานตัว 90 วัน จำนวน 1 ครั้ง

  • ผู้ที่สามารถขอรับวีซ่าประเภท ต่ออายุวีซ่าอื่นๆ (Non-O Visa Extension) นี้ได้ ได้แก่บุคคล 3 กลุ่ม ดังนี้:
    1. ชาวต่างชาติที่จดทะเบียนสมรสกับคนไทย / อุปการะบุตรคนไทย
    2. ครอบครัว/ผู้ติดตามของผู้ถือวีซ่าประเภท “Non- B” ที่มีใบอนุญาตทำงานในไทย
    3. ครอบครัว/ผู้ติดตามของผู้ถือวีซ่าเกษียณ ซึ่งอายุต่ำกว่า 50 ปี
  • เมื่อยื่นขอวีซ่าครั้งแรก คู่สมรส หรือ บุตรของคุณ จะได้รับวีซ่าเข้าครั้งเดียว มีอายุ 90 วัน สามารถขยายเวลาการพักอาศัยได้ 1 ปี โดยยื่นขอขยายเวลาที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย ควรยื่นคำร้องขอต่ออายุเมื่อยังเหลือเวลาอย่างน้อย 21 วันสำหรับวีซ่าปัจจุบัน
  • วีซ่าประเภทคนอยู่ชั่วคราว หรือ Non-O Visa Extension รหัส “O” ติดตามคู่สมรส/ครอบครัว ไม่อนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยตามกฎหมาย หากผู้ร้องขอวีซ่ารหัส "O" ต้องการที่จะทำงานในประเทศไทย ควรขอรับวีซ่าประเภท Non-B Visa Extension ก่อนและต้องมี ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
  • กรณีการยื่นขอต่ออายุวีซ่าผู้ติดตาม (Non-O) ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนด บริษัทฯยินดีคืนเงินหลังจากหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
  • WonderfulPackage.com  เราคือผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ และบริการให้คำปรึกษาด้าน Work Permit Services และที่ปรึกษาสำหรับคนต่างชาติ โดยเฉพาะ ที่ให้แบบครบวงจร One Stop Service บริการของเรา อาทิ ยื่นขอใบอนุญาตทำงาน ต่ออายุวีซ่าทำงาน เปลี่ยนประเภทวีซ่าทำงาน ในประเทศไทย สำหรับคนต่างชาติ หรือ คนต่างด้าว วีซ่าทำงาน วีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าผู้ติดตาม วีซ่านักเรียน ติดปัญหาเรื่องเอกสาร เราช่วยคุณได้

ตัวเลือกแพคเกจ

Non-O Visa Extension
฿ 13,500

รายละเอียดสินค้า

การต่ออายุวีซ่าอื่นๆสำหรับชาวต่างชาติในประเทศไทย (Non-O Visa Extension for Foreigners in Thailand)

การขอต่ออายุวีซ่าอื่นๆ ประเภทโอ (Non-O Visa Extension) เป็นการขอต่อใบอนุญาตเพื่อขออยู่ต่อในประเทศไทย ของผู้ติดตามต่างชาติที่มีความประสงค์จะติดตามครอบครัวที่มาทำงานหรืออาศัยอยู่ในประเทศไทย ในกรณีที่ครอบครัวมีเหตุจำเป็นทางธุรกิจ หรือเพื่ออยู่ปฏิบัติงานในบริษัท เป็นต้น โดยการขอต่ออายุวีซ่าผู้ติดตาม (Non-O) จะสามารถขอขยายเวลาการพักอาศัยได้สูงสุด 1 ปี ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย ในระหว่างที่รอผลพิจารณาสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยไปพลางๆก่อนได้ ทั้งนี้การยื่นขอต่ออายุวีซ่าผู้ติดตาม (Non-O) จะต้องยื่นล่วงหน้าก่อนวีซ่าเดิมจะหมดอายุอย่างน้อย 21 วัน ซึ่งยื่นตามกรณีดังนี้

  • กรณีครอบครัว/ผู้ติดตามของผู้ถือวีซ่าประเภท “Non- B” ที่มีใบอนุญาตทำงานในไทย

ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนดไว้


ขั้นตอนการให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์


เอกสารประกอบการขอต่ออายุวีซ่าอื่นๆ (Non-O)

1. ส่งสำเนาเอกสาร มาเพื่อกรอกรายละเอียดในแบบคำขอต่ออายุวีซ่าอื่นๆ (Non-O) "ตม.7":

  • สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่น และสำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ [ถ่ายเอกสารหน้าที่มีข้อมูลส่วนตัว, หน้าวีซ่า, รอยการตรวจลงตรา, ตราขาเข้าครั้งสุดท้าย, รอยตราอนุญาตการอยู่ต่อฯ (ถ้ามี), บัตรขาออก ตม.6, ตราRe-Entry (ถ้ามี)]
  • สำเนาใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ (ทุกหน้าที่มีข้อมูลปรากฎ)
  • สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กันระหว่างผู้ยื่น และคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ

วิธีการนำส่งสำเนาเอกสารดังนี้:

  • สแกนเอกสารส่งอีเมลมาที่: [email protected] หรือ
  • ส่งไปรษณีย์มาตามที่อยู่:
    บริษัท มิราม่า เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด (Visa & Work Permit Team)
    เลขที่ 1429 ซอยลาดพร้าว 94 (ปัญจมิตร) ถนนลาดพร้าว แขวงพลับพลา เขตวังทองหลางกรุงเทพ 10310

2.เอกสารที่ใช้ยื่นขอต่ออายุวีซ่าผู้ติดตาม

  • แบบคำขอต่ออายุวีซ่า ตม.7
  • รูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซ.ม. หรือขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป
  • หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ (แสดงเล่มจริง) พร้อมสำเนา
  • สำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ
  • สำเนาใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ (ทุกหน้าที่มีข้อมูลปรากฎ)
  • สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่นจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำเนาเอกสารทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อรับรองดังนี้

  • เอกสารของผู้ยื่นคำขอ ให้ผู้ยื่นคำขอลงนามรับรองทุกแผ่น ทุกหน้า
  • เอกสารของคนต้างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ ให้คนต่างด้าวลงนามรับรองทุกแผ่น ทุกหน้า
  • โปรดทราบ: เอกสารที่เป็นสำเนา ในวันนัดหมายยื่นจะต้องเตรียมฉบับจริงเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่สตม.ด้วย

เกร็ดความรู้การต่ออายุวีซ่าอื่นๆ (Non-O)

  • การขอวีซ่าครั้งแรก ผู้ติดตามครอบครัวจะได้รับวีซ่าเข้าครั้งเดียวมีอายุที่ 90 วัน ออกโดยสถานเอกอัครราชฑูต หรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในประเทศที่ผู้ติดตามนั้นถือสัญชาติอยู่
  • การขอต่อวีซ่าครั้งต่อไป ผู้ติดตามครอบครัวจะได้รับการขยายวีซ่าให้สูงสุดที่ 1 ปี ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย ทั้งนี้จะต้องยื่นขอต่อวีซ่าล่วงหน้าก่อนหมดอายุอย่างน้อย 21 วัน ในระหว่างที่รอผลการพิจารณา สามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยไปพลางๆก่อนได้
  • กรณีที่ได้รับการอนุญาตวีซ่าแบบ 1 ปี จะต้องยื่นแบบรายงานตัว ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุก 90 วัน
  • กรณีที่มีความจำเป็นต้องออกจากประเทศด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ ต้องได้รับอนุญาตให้กลับเข้าประเทศ (Re-Entry) ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ที่ใกล้ที่สุดหรือที่สนามบินนานาชาติที่จะเดินทางออกนอกประเทศไทย หากไม่มี Re-Entry วีซ่าอาจถูกยกเลิก (ยกเว้น Multiple Entry)
  • ผู้ที่ถือวีซ่าผู้ติดตาม (Non-O) ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทยตามกฎหมาย หากมีความประสงค์ที่จะทำงาน จะต้องยื่นขอวีซ่าทำงาน (Non-B) และต้องมีใบอนุญาตทำงานเท่านั้น
  • ผู้ติดตามที่เป็นคู่สมรส ต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย
  • ผู้ติดตามที่เป็นบุตร, บุตรบุญธรรม, หรือบุตรของคู่สมรส ต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี ยังอาศัยอยู่กับครอบครัว และยังไม่ได้สมรส
  • ผู้ติดตามที่เป็นบิดา หรือมารดา ต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
  • กรณีที่คู่สมรสนั้นมีการหย่าร้าง วีซ่าผู้ติดตาม (Non-O) จะถูกยกเลิก และจะต้องให้ออกจากประเทศไทยทันที

รู้จักกับการต่ออายุวีซ่าผู้ติดตามประเภทโอ (Non-O Visa)

หมายเหตุ

  • ผู้ขอจะต้องยื่นคำขอด้วยตนเอง (แสดงตัว)
  • ระยะเวลาดำเนินการภายใน 30 วันทำการ
  • ระยะเวลาที่ระบุเป็นเพียงระยะเวลาการดำเนินการนับจากวันที่เอกสารครบสมบูรณ์ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ไม่นับรวมวันจัดส่งเอกสาร, วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
  • การยื่นขอจะได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม จะไม่มีการคืนค่าธรรมเนียมยื่นของหน่วยงานราชการในทุกรณี